เครื่องปรับอากาศ
- ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีสลากประหยัดไฟ โดยปกติเป็นสติกเกอร์ติดอยู่กับเครื่องรับอากาศซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณท์อุตสาหกรรม(สมอ. )
- ชนิดของเครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้ในบ้านที่อยู่อาศัย ในปัจจุบันมีจำหน่ายในท้องตลาด 3 ชนิด คือ
-ชนิดติดหน้าต่าง จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะที่ติดตั้งวงกบหน้าต่าง ติดกระจกช่องแสงติดตาย บานกระทุ้ง บานเกล็ด
เป็นต้น มีขนาดตั้งแต่ 9,000-24,000 บีทียู/ชม.
-ชนิดแยกส่วนติดฝาผนังหรือแขวน เหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะทึบจะติดตั้งได้สวยงาม แต่จะมีราคาแพงกว่า
เมื่อเปรียบเทียบ เครื่องปรับอากาศชนิดต่างๆที่มีขนาดเท่ากัน(บีทียู/ชม.) เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า และจะมีสวิตช์ควบคุมอัตโนมัติแบบอิเล็คทรอนิกส์ สำหรับควบคุมอุณหภูมิความเย็นของห้อง มีขนาดตั้งแต่
8,000-24,000 บีทียู/ชม.
-เครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วนจะตั้งพื้น จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะห้องที่เป็นกระจกทั้งหมด,ผนังทึบ ซึ่งไม่อาจเจาะช่องเพื่อติดตั้งได้เมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่างๆที่มีขนาดเท่ากัน เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า มีขนาดตั้งแต่ 12,000-36,000 บีทียู/ชม. - ควรเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่ต้องการติดตั้งโดยที่ความสูงของห้องไม่เกิน 3 เมตร พื้นที่ห้องตามความสูงไม่เกิน
3 ม. (ตร.ม)ขนาดของเครื่องปรับอากาศ
(บีทียู/ชั่วโมง)13-147,000-9,00016-179,000-12,0002011,000-13,00023-2413,000-16,0003018,000-20,0004024,000
วิธีใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดพลังงาน- ติดตั้งในที่เหมาะสมคือต้องสูงจากพื้นพอสมควรสามารถเปิดปิดปุ่มต่างๆ
ได้สะดวกและเพื่อให้ความเย็นเป่าออกจากเครื่องได้หมุนเวียนภายในห้องอย่างทั่วถึง - อย่าให้ความเย็นรั่วไหล ควรจะปิดประตูหรือหน้าต่างห้องให้มิดชิด
- ปรับปุ่มต่างๆให้เหมาะสมเมื่อเริ่มเปิดเครื่องควรตั้งความเร็วพัดลมไปที่ตำแหน่งสูงสุดและอุณหภูมิต่ำสุด
เมื่อความเย็นพอเหมาะแล้วให้ตั้งไปที่อุณหภูมิ 26องศาเซลเซียส - หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศและตะแกรง รวมทั้งชุดคอนเดนเซอร์ เพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวกและประหยัดไฟโดยตรง
- ใช้พัดลมระบายอากาศเท่าที่จำเป็น
- ควรปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้
- ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
- หมั่นตรวจสอบ ล้าง ทำความสะอาดตามระยะเวลา ที่ผู้ผลิตกำหนด
- หน้าต่างหรือบานกระจกควรจะป้องกันรังสีความร้อนที่เข้ามาดังนี้
-ใช้อุปกรณ์บังแดดภายนอกมิให้กระจกถูกแสงแดด เช่นผ้าใบหรือแผงบังแดดหรือร่มเงาจากต้นไม้
-ใช้กระจกหรือติดฟิล์มรังสีความร้อน
-ใช้อุปกรณ์บังแดดภายใน เช่น ผ้าม่าน มู่ลี่ (กระจกด้านทิศใต้ให้ใช้ใบอยู่ในแนวนอน กระจกทิศตะวันออก-ตก
ให้ใช้ใบที่อยู่ในแนวดิ่ง - ผนังหรือเพดานโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านที่มีแสงแดดส่องจะเก็บความร้อนไว้มาก ทำให้มีการสูญเสีย
มากจึงต้องมีการป้องกันดังนี้
-บุด้วยฉนวนกันความร้อนแผ่นฟิล์มอลูมิเนียมสะท้อนรังสีความร้อน
-ทำที่บังแดด/หลังคา/ปลูกต้นไม้ด้านนอก - พยายามอย่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ไฟส่องสว่างก็เป็นตัวให้ความร้อน
จึงควรปิดไฟเมื่อมีความจำเป็น - ชุดคอนเดนเซอร์ที่ใช้ระบายความร้อนสู่ภายนอก
-ควรถูกแสงแดดให้น้อยที่สุด
-ขจัดสิ่งกีดขวางทางลมให้ระบายอากาศได้สะดวก
-อย่าติดตั้งให้ปะทะกับลมธรรมชาติโดยตรง
คำแนะนำด้านความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศ- ควรต่อระบบสายดินกับเครื่องปรับอากาศและทดสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟ
- เครื่องตัดไฟรั่วขนาดไม่เกิน 30 mA. หากป้องกันวงจรของเครื่องปรับอากาศด้วย อาจมีปัญหาเครื่องตัดไฟรั่วทำงานบ่อยขึ้นควรหลีกเลี่ยงโดยการแยกวงจรออกและใช้ขนาด 100 mA ป้องกันอีกชั้นหนึ่ง
- ติดตั้งเบรกเกอร์หรือสวิตช์อัตโนมัติและควบคุมวงจรโดยเฉพาะ
- กรณีมีไฟตกหรือไฟดับ ถ้าไม่มีสวิชต์ปลดสับเองโดยอัตโนมัติต้องรีบปิดเครื่องทันทีก่อนที่จะมีไฟมา
และควรรอระยะเวลาประมาณ 3-5 นาที ก่อนจะสับสวิตช์เข้าใหม่ - หมั่นตรวจสอบขั้วและการเข้าสายของจุดต่อต่างๆอยู่เสมอ
- ติดตั้งในที่เหมาะสมคือต้องสูงจากพื้นพอสมควรสามารถเปิดปิดปุ่มต่างๆ
อ้างอิง : http://www.supradit.com/contents/electrical/electric_save.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น